ประมวลภาพกิจกรรม
ประกาศเมื่อ 15 ธันวาคม 2564 เปิดดู 1261 ครั้ง ย้อนกลับ พิมพ์
ประชุมระดมความคิดเห็นร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 รอบที่ 2


ประชุมระดมความคิดเห็นร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 รอบที่ 2

วันพุธ ที่ 15 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30 น.

     นายเสริฐ  ไชยยานันตา ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้ นางสาวขนิษฐา แจ่มน่าน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็นร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 รอบที่ 2 ณ โรงแรมไดมอนด์ปาร์คอินน์ เชียงราย รีสอร์ท ถ.พลหลโยธิน ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย จัดการประชุมโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยนางสาวจินางค์กูร โรจนนันต์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย หน่วยราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจเอกชน เครือข่ายภาคประชาสังคม และนักวิชาการ

     ในที่ประชุมในครั้งนี้ มีการนำเสนอรายละเอียดร่างแผนฯ ต่อเนื่องจากเวทีที่ สศช.ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังความเห็นต่อกรอบของแผนฯ และกำหนดเป้าหมายหลักของการพัฒนาในระยะ 5 ปีของแผน รวมทั้งสิ้น 5 เป้าหมาย และรายละเอียดหมุดหมายการพัฒนาสำคัญรวม 13 หมุดหมาย เพื่อให้แผนฯ สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างแท้จริง ได้แก่ (1) การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม (2) การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ (3) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม (4) การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน และ(5) การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง ภายใต้บริบทโลกใหม่ รวมทั้งหมุดหมายการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ 4 มิติ ได้แก่ 1. มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย 2. มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม 3. มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ

     โดยมีประเด็นสำคัญตามเป้าหมายการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 “ประตูการค้าสากล โดดเด่นวัฒนธรรมล้านนา สินค้าเกษตรปลอดภัย ประชาชนร่วมใจอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ” ใน 4 ประเด็นสำคัญหลัก คือ 1. พัฒนาสภาพแวดล้อมในการพัฒนาการค้าการลงทุน และโลจิสติกส์เชื่อมโยงกับต่างประเทศ 2. การสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรปลอดภัยที่มีศักยภาพ 3. พัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศศิลปวัฒนธรรมสุขภาพ และ MICE เพื่อสร้างรายได้สู่ชุมชนและเชื่อมโยงห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดอย่างยั่งยืน 4. ดำรงฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่การเป็นกลุ่มจังหวัดสีเขียว