• เปิดดู
    2,551
ศาลเจ้าจี้กงหน่ำพิ้งฮง

ศาลเจ้าจี้กงหน่ำพิ้งฮง 

     สวัสดีค่ะ วันนี้ขอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวอำเภอพานแห่งหนึ่งที่น่าสนใจมาก และอยากให้เพื่อนๆ แวะเข้ามาดูประวัติของสถานที่ท่องเที่ยวอำเภอพานแห่งนี้ ซึ่งน่าสนใจมากเลยค่ะ หลายๆ ท่านที่เคยมาแหล่งท่องเที่ยวอำเภอพานแห่งนี้แล้วก็ต้องยอมรับว่าความสวยงามของที่นี่ เหมือนกับได้ไปอยู่เมืองจีนยังไงยังงั้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวอำเภอพานที่มีสไตล์การตกแต่งแบบจีน เพราะเป็นศาลเจ้า ซึ่งชาวอำเภอพานเรียกสั้นๆ ว่าศาลเจ้าจี้กง แต่ที่จริงแล้วมีชื่อเต็มว่า ศาลเจ้าจี้กงหน่ำพิ้งฮง และศาลเจ้าจี้กงนี้นอกจากการตกแต่งสไตล์จีนๆ แล้วบรรยากาศที่นี่ก็สดชื่น ท้องฟ้าสดใส และมีสวนหย่อมเขียวขจี ตัดกับสีแดง สีของตัวศาลที่เป็นเอกลักษณ์ของที่นี่เลยค่ะ  ภายในสวนยังมีต้นส้มโอรูปมือ ผลสีเหลือง ฟังดูแล้วอาจแปลกๆ แต่น่าสนใจดีนะค่ะ ถ้าอยากเห็นก็ลองไปเที่ยวศาลเจ้าจี้กง อำเภอพานดู  ก่อนอื่นมาดูประวัติศาลเจ้าจี้กงกันสิว่า เป็นมายังไงบ้าง…

ท่องเที่ยวอำเภอพาน

ท่องเที่ยวอำเภอพาน

ประวัติศาลเจ้าจี้กงหน่ำพิ้งฮง (ศาลเจ้าจี้กง) แหล่งท่องเที่ยวอำเภอพาน     

ก่อตั้งเมื่อวัยมหาสงกรานต์ปี พ.ศ. 2533 แต่เดิมเป็นเพียงศาลเจ้าเล็ก ๆ ใช้ชื่อว่า ศาลเจ้าจี้กงหน่ำพิ้งเกาะ  โดยคณะศิษยานุศิษย์ของพระอรหันต์จี้กง  ได้เดินทางขึ้นมาถวายสักการะและสรงน้ำพระ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์เป็นประจำทุกปี  ต่อมาได้รับเทวธรรมชี้แนะจากพระอาจารย์จี้กง จึงได้ดำเนินการก่อสร้างสัณฑคารหน่ำพิ้งซื้อขึ้น  เพื่อตั้งแท่นบูชาแผ่นป้ายบรรพชน  และเพื่อเป็นที่พักสำหรับคณะศิษย์ที่เดินทางมาปฏิบัติธรรมยังคุณธรรมสถานแห่งนี้  พร้อมกันนั้นก็ได้จัดสร้างแท่นประดิษฐานเทวรูปเทวอาจารย์ชั้น 2 ของอาคารควบคู่ไปด้วย  โดยพระอาจารย์จี้กงได้เมตตาประทาน นามให้ว่า  จียิ้งเกาะ  ดังต่อมาได้เข้าร่วมเป็นองค์กรสมาชิกนับเป็นลำดับที่ 69 ในเครือสมาคมสหมิตรการกุศล “ เต็กก่า” แห่งประเทศไทย  ใช้ชื่อเป็นทางการว่า คุณธรรมสถานหน่ำพิ้งจียิ้งเกาะ   พระรูปพระอรหันต์จี้กง ขนาดสูง 8.8 เมตร  หล่อด้วยทองสำริดปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่ได้มาท่องเที่ยวอำเภอพานต่างแวะเวียนมาสักการะศาลเจ้าจี้กงเป็นประจำ

ท่องเที่ยวอำเภอพาน

ท่องเที่ยวอำเภอพาน

เถรประวัติพระอาจารย์เต้าจี้(พระอรหันต์จี้กง)    

     พระอาจารย์เต้าจี้เป็นพระมหาเถระในสมัยราชวงค์ซ้อง เกิดในปีที่ ๑๘ ของรัชสมัยเสี่วซิ่ง แห่งราชวงค์ซ้องใต้(ตรงกับ ค.ศ๑๑๔๘)ณ อำเภอเทียนไถ จังหวัดหลินอัน มณฑลเจ๋อเจียง เล่าขานกันว่าท่านเป็นนิรมาณกายของพระอรหันต์ที่บันดาลให้เกิดความเคลื่อนไหว่ท่ามกลางความสงบเงียบ ท่านเป็นบุตรของขุนนางตระกูลหลี่ ในวันที่ถือกำเนิดบังเกิดนิมิตมงคล ปรากศุภรังสีเป็นแสงสีแดงแจ่มกระจ่างไปทั่วเคหา จึงได้นามว่า ซิวหยวน มีชื่อเรียกว่า หูอิ่น พระอาจารย์เป็นผู้ที่มีลักษณะงาม มีกิรกยาอาการสำรวม ทั้งยังฉลาดเฉลียวปราดเปรียวสุภาพ ตั้งแต่เล็กก็รอบรู้สรรพวิชากาพย์กลอน มีความสามารถในการประพันท์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ด้วยท่วงทำนองของกวีครั้นอายุ ๑๘ ปี ได้ทำการบรรพชาอุปสมบท ณ อารามหลินอิ่นซือ มีพระอาจารย์ฝอ ไห่ เหยียน เป็นอุปัชฌาย์ ได้ รับการถ่ายทอดรหัสสนัยแห่งเซน จนบรรลุรู้เข้าสู่ธรรมวิถีนับเป็นอาจารย์เซนสำนักหนานเหวี่ยรุ่น ๑๖ หลังจากที่ก้าวพ้นโลกียวิสัยมีปัญญาสะอาดใสพร้อมกุศลมูล จึงแสร้งทำจริตบ้าใบ้ สวมใส่จีวรปุขาด ชมชอบฉันเหล้าเนื้อเมื่อล้อเล่นกับโลกธรรม ก็ร่ายรำไปตามสภาวะ ดังวจนะของพระอาจารย์ที่ว่า “เหล้าเนื้อผ่านลำไส้ ที่กลางใจเหลือพุทธา” เดินยิ้มเยาะไปตามวิถี มิมีใครไม่รู้จัก ทำแผกเพี้ยนเพื่อช่วยเหลือมนุษย์โลก เทิดพระพุทธธรรมเกื้อกูลแก่ปวงประชา เวลากว่าครึ่งชีวิตโอบอุ้มชุบช่วยผู้อยากไร้ ผู้ทุกข์เข็ญลำเค็ญใจต่างได้รับการอนุเคราะห์” พระอาจารย์ตั้งฉายาเรียกขานตนเองว่า “พระเพี้ยน” หากผู้ศรัทธาพากันยกยย่องว่าเป็นพระพุทธาที่ยังอยู่ ภายหลังรับตำแหน่งเป็นเป็นพระเลขาของอารามจิ้งฉือซื่อ ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเลสาบซีหู เมืองหางโจว มีหน้าที่เป็นผู้เขียนประกาศฎีกาบอกบุญ รับผิดชอบดูแลงานด้านอาลักษณ์ หนึ่งอักษรหนึ่งนิพนธ์ ล้วนเปี่ยมล้นด้วยหลักพุทธธรรม ครึ่งพูดครึ่งปฏิบัตร ย่อมไม่ขาดจากหลักหัสนัย ดังเมื่ออารามจิ้งฉือ ถูกอัคคีภัยเผาไหม้ได้รับความเสียหาย แลได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่นั้น  พระอาจารย์ก็พลันเขียนประกาศติดไว้หน้าประตูอาราม บิณฑบาตบอกบุญแก่ญาติโยมความทราบถึงพระเนตพระกรรณ ฮ่องเต้จึงพระราชทานเงินสามหมื่นพวงอีแปะ(หนึ่งพวงมีพันอีแปะ)เพื่อซ้องแซมอารามให้กลับงามสง่าดังเดิม ดังมีตำนานเรื่องลำเลียงไม้ในบ่อเก่า เล่าขานกันมาในหมู่ชนจวบจนถึงปัจจุบันเป็นที่อัศจรรย์นับถือของอาคันตุกะผู้มาเยือน พระอาจารย์ดำเนินชีวิตได้ ๖๐ พรรษา ก็มรณภาพละสังขารในปี ค.ศ ๑๒๐๙ หวนกลับสู่สุขาวดี คืนวิถีสู่อริยมรรค ก่อนลาลับแต่งโศลกธรรมไว้ดังนี้
หกสิบปีเปะปะไปตามทาง                    
ออกสู่ตกก้าวย่างหว่างวิถี                    
มาบัดนี้หวนคืนกลับจักจรลี                    
ตามนทีสายเก่าก่อนสู่ฟ้าคราม

 ดูจากประวัติของศาลเจ้าจี้กง กับพระอาจารย์เต้าจี้แล้วน่าสนใจเลยทีเดียวนะค่ะ นอกจากจะมีประวัติที่เล่าขานกันต่อมาแล้ว บรรยากาศที่นี้เหมือนกับได้ไปเที่ยวเมืองจีน สำหรับใครที่มีโอกาสผ่านไปผ่านมาอำเภอพานบ่อยๆ  ก็ขอแนะนำให้เข้ามาแวะแหล่งท่องเที่ยวอำเภอพานแห่งนี้ดูนะค่ะ ก็ขอฝากแผนที่ศาลเจ้าจี้กง อำเภอพาน เผื่อใครที่สนใจอยากไปลองแวะเข้ามากันได้                       เพราะศาลเจ้าจี้กง สวยจริงๆ และอย่าลืมเข้ามากราบไหว้พระอาจารย์เต้าจี้ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของที่นี่เลย                                                         มาอำเภอพานทั้งที่ก็อย่าลืมแวะมาที่นี่นะค่ะ

 
ท่องเที่ยวอำเภอพาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :: ศาลเจ้าจี้กงหน่ำพิ้งเกาะ เลขที่ 667 หมู่ 1 ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

โทร / แฟ็กซ์ :: โทร. 053-635227-8 แฟกซ์ 053-635228

โฮมเพจ / เว็บไซต์ ::