ประมวลภาพกิจกรรม
ประกาศเมื่อ 04 ธันวาคม 2564 เปิดดู 1254 ครั้ง ย้อนกลับ พิมพ์
ประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และประชุมคณะทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง


ประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และประชุมคณะทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง

วันศุกร์ ที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00 น.

          นายเสริฐ ไชยยานันตา ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ได้มอบหมายให้ นางสาวขนิษฐา  แจ่มน่าน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และประชุมคณะทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ณ ห้องประชุมเวียงกาหลง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย จัดโดยคณะอนุกรรมการพัธนาระบบราชการ เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหาราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง(High Performance Provinces : จังหวัด HPP) ระหว่างกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.)

          ทั้งนี้ในที่ประชุมมี นายบัญชา  เชาวรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และคณะทำงานฯ ประกอบด้วย สำนักงานจังหวัดเชียงราย(กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด) สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย ขนส่งจังหวัดเชียงราย เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงราย และท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย ซึ่งได้มีการพิจารณารูปแบบจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (จังหวัด HPP) : หมายถึง จังหวัดที่สามารถบริหารจัดการตามประเต็นนโยบายสำคัญ (agenda) ให้บรรลุผลสำเร็จได้ผลผลิตและผลลัพธ์ตามแผนการขับเคลื่อน โดยกลไกการบริหารจัดการมี ๔ รูปแบบ ได้แก่

๑. การนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนางาน (Digital Government) : เป็นการปรับกระบวนการทำงานโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อให้ภาครัฐทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับเปลี่ยนการบริการภาครัฐให้เป็นบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)

๒. การพัฒนานวัตกรรมของภาครัฐ (Public Innovation ) : เป็นการพัฒนานวัตกรรมทางการบริหารของจังหวัด เช่น การปรับกระบวนการทำงานไหม่ ๆ โดยมีรูปแบบความร่วมมือ/การทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนของจังหวัดที่แตกต่างกัน

๓. การส่งเสริมและพัฒนาวีธีการปฏิบัติงานไปสู่การเป็นราชการระบบเปิด(Open Government) : การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน การส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายรัฐ

๔. การพัฒนาสู่การบริการภาครัฐที่เป็นเลิศ (Public Service for Excellence) : การขยายผลตามแนวคิด PMQA ๔.o/ การขยายผลรางวัลเลิศรัฐ ฯลฯ

และพิจารณาเลือกและเสนอประเด็นนโยบาย (agenda) ที่มีความสำคัญในการพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเชิงพื้นที่ เพื่อพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง โดยให้ส่วนราชการที่เข้าร่วมประชุมฯ นำเสนอ/แสดงความเห็นเป็นรายหน่วยงาน) เพื่อดำเนินการต่อไป