ประมวลภาพกิจกรรม
ประกาศเมื่อ 07 เมษายน 2565 เปิดดู 1258 ครั้ง ย้อนกลับ พิมพ์
ประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงหลักเกณฑ์การประเมินความพร้อมแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ผ่านระบบออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Zoom Cloud Meetings


 

 

 

 

 

 

 

 

           วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565 เวลา 13.00 น. นายเสริฐ ไชยยานันตา ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้นางสาวขนิษฐา  แจ่มน่าน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นางสาวฐาณียา ชัยวงค์บุตร และนายวัชรากร นาคทองกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงหลักเกณฑ์การประเมินความพร้อมแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร ผ่านระบบออนไลน์โดยใช้โปรแกรม Zoom Cloud Meetings ณ ห้องประชุมการบูร กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ อาคาร ๓ ชั้น ๓ จัดโดย กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข และกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดเมืองสมุนไพร และจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสุขภาพสำคัญของประเทศที่สนใจ

           โดย นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวเปิดประชุม และรายงานโดย นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในการประชุม มีบรรยายพิเศษหัวข้อ โอกาสด้านการท่องเที่ยวสุขภาพสู่การสร้างเศรษฐกิจ โดย นายแพทย์ปราโมทย์ เสถียรรัตน์

           ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข และนางสาววันทนา แจ้งประจักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมทั้งการนำเสนอกรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้กัญชาทางการแพทย์และเศรษฐกิจสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 8 รวมทั้งการบรรยาย ชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางการประเมินความพร้อมแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร โดย ผศ.ดร.สันติธร ภูริภักดี ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

           ทั้งนี้ การประเมินแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร มีองค์ประกอบ 4 ด้าน รวม 41 ตัวชี้วัดได้แก่ 1.การประเมินศักยภาพของแหล่งทท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2.  ศักยภาพของระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และการเข้าถึงของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร 3.ศักยภาพการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร และ 4.ศักยภาพด้านความโดดเด่นเป็นอัตลักษณะและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพร โดยจะมีการขับเคลื่อนการประเมินแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภูมิปัญญาไทยและสมุนไพรในระดับจังหวัดต่อไป