แหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเยี่ยมกิจกรรมของศูนย์ฯ ชมแปลงสาธิต พืชผัก ไม้ดอก ไม้ผล และสมุนไพรและแปลงของเกษตรกร เช่น ไร่ส้ม ไร่ข้าวโพดหวาน แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางโบราณประวัติศาสตร์ เที่ยวชมดอยตำนานประวัติศาสตร์ดอยช้าง ดอยงู ร่องรอยป้อมปราการสมัยโบราณบนยอดดอย วิวดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ วิวเทือกเขาดอยนางนอน ชมภูเขาล้างทองบ่อที่ตำนานเก่าแก่สมัยโบราณที่บ้านเขาสะโงะ ชมทะเลหมอกในยามเช้า วิวสายน้ำโขง ประเทศลาวและพระธาตุเขานางคอย ลงเรือชมน้ำโขงประเทศพม่าและประเทศลาว แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองที่นับถือพุทธศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของอาข่าและศึกษาพิพิธภัณฑ์อาข่าประเพณีปีใหม่ (กินวอ) พิธีกรรมไล่ผีร้าย งานศิลปะการเย็บผ้าอาข่า งานฝีมือของที่ระลึกต่างๆ ชมพิพิธภัณฑ์อาข่า
งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ได้ดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ด้านการปลูกพืช จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ พืชผัก ได้แก่ พริกแม็กซิกัน เมล็ดพันธุ์ถั่วแขก ถั่วลันเตา พืชสมุนไพร และคาร์โมมายด์ ไม้ดอก ได้แก่ หน้าวัว เปลวเทียน ขิงแดง ขิงชมพู และเบญจมาศ และพืชไร่ ด้านการเลี้ยงสัตว์ จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ แพะ สุกร และไก่
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงสะโง๊ะ ตั้งอยู่ที่บ้านดอยสะโง๊ะ ประชาชนเป็น ชาวไทลื้อ และคนเมืองพื้นล่าง ลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาลูกคลื่น สูงจากระดับน้ำทะเล 400-700 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส กิจกรรมการท่องเที่ยวภายในศูนย์ ฯ ประกอบด้วย การชมสวนดอกไม้สายพันธ์จากต่างประเทศ ซึ่งจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว เช่น เบญจมาศ หน้าวัว ชมไร่ข้าวโพดหวาน ซึ่งชมได้เฉพาะช่วงฤดูฝน ด้านประเพณีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ประเพณีโล้ชิงช้า ซึ่งจัดในเดือนสิงหาคมประเพณีชนไข่จักในช่วงเดือนเมษายน ส่วนแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงประกอบด้วย สามเหลี่ยมทองคำ, ทะเลสาบแสน ฯลฯ
การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะโง๊ะเริ่มต้นในรูปของงานอาสาพัฒนาชาวเขา ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยแม่โจ้ แต่เนื่องจากการคมนาคมที่ไม่สะดวก เจ้าหน้าที่ต้องเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์เพียงเดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น เมื่อไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำงานส่งเสริมของศูนย์จึงไม่เต็มประสิทธิภาพนัก จนปี พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่และทรงมีพระราชดำรัสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลช่วยเหลือชาวบ้านดอยสะโง๊ะ
ให้มากขึ้น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยสะโง๊ะจึงก่อกำเนิด ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยสะโง๊ะ ตั้งอยู่บ้านดอยสะโง๊ะ รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน 643 หลังคาเรือน ประชากร 2,672 คน ในพื้นที่ 38 ตารางกิโลเมตร หรือ 23,750 ไร่ มีทั้งเผ่าอีก้อ ไทลื้อ คนเมือง และไทยลื้ออยู่ในดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาลูกคลื่น ลาดชันปานกลาง สูงจากระดับน้ำทะเล 400-700 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ย 21 องศาเซลเซียส (ในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 5 องศาเซลเซียส) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,200 มิลิเมตรต่อปี
ของฝาก
- หัตถกรรมชาวบ้าน อาทิ กระเป๋า หมวก
- ชุดประจำเผ่า