• เปิดดู
    913
ทะเลสาบเชียงแสน หรือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบ่งคาย

เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หนองบงคาย (ทะเลสาบเชียงแสน) อำเภอเชียงแสน (Nong bong khai non-hunting area) ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความเป็นมาของ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย (ทะเลสาบเชียงแสน)

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคายเดิมเป็นหนองน้ำขนาดเล็กซึ่งถูกล้อมรอบด้วยเนินเขาเตี้ยๆ โดยรอบเป็นแอ่งรองรับน้ำฝนตามธรรมชาติ ทางราชการได้ก่อสร้างเขื่อนน้ำล้น เพื่อกักเก็บน้ำ จึงทำให้หนองน้ำมีปริมาณมากขึ้น มีลักษณะเป็นทะเลสาบ ขนาดย่อมเรียกว่า “ทะเลสาบเชียงแสน”
และได้รับการประกาศ จากกระกรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2528 และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญระหว่างประเทศของอนุสัญญาว่าด้วย พื้นที่ชุมน้ำหรืออนุสัญญาแรมซาร์ อันดับที่ 1101 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2544 ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2,711 ไร่

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคายตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลโยนก ตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน และตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
ทิศเหนือ จรดบ้านดอยจำปี ต.ป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ทิศใต้ จรดบ้านทุ่งฟ้าฮ่าม ต.โยนก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ทิศตะวันออก จรดบ้านดอยจัน ต.โยนก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
ทิศตะวันตก จรดบ้านห้วยน้ำราก ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย

สถานภาพของพื้นที่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย อยู่ในบริเวณหนองน้ำพื้นที่สาธารณะ อยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติและป่าต้นน้ำลำธาร ถูกจัดสถานภาพเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ และอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ “แอ่งเชียงแสน”


ภูมิประเทศ
เป็นหนองที่มีลักษณะเป็นทะเลสาบขนาดย่อมล้อมรอบ ลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรม ถัดจากเนินเขาจะเป็นพื้นที่ราบใช้ประโยชน์ทางการเกษตร บางส่วนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชุมชน

ภูมิอากาศ
มีสภาพแบบกึ่งร้อนชื้น (sub tropical) ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศในรอบปี แบ่งเป็น 3 ฤดู
ฤดูร้อน , ฤดูหนาว และฤดูฝน โดยอุณหภูมิสูงสุด 39อง ศา 61589;C อุณหภูมิต่ำสุด 09 องศา 61589;C


ป่าไม้และสัตว์ป่า

ป่าไม้
พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์หนองบงคาย มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหนองน้ำ มีส่วนของพื้นที่ดินมีลักษณะเป็นป่าแนวแคบๆ อยู่รอบหนองและบนเกาะกลางน้ำเท่านั้น สภาพป่าเป็นป่าเสื่อมโทรม ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดเล็กขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป อยู่ในระหว่างการทดแทนของสังคมพืช ยังคงมีสภาพที่เป็นป่าธรรมชาติ ประมาณ 20 ไร่

พันธุ์ไม้
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นน้ำ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่จึงเป็นสังคมพืชน้ำซึ่งค้นพบ จำนวนทั้งสิ้น 185 ชนิด เช่น ผักบุ้ง , บอน , หญ้าไซ , บัวหลวง และ กก เป็นต้น เป็นพืชต่างถิ่น 15 ชนิด เช่น กระถินยักษ์ , หญ้าชน
, บัวบก และ มะระขี้นก เป็นต้น

พันธุ์สัตว์ป่า
พื้นที่เป็นที่ขนาดเล็กอยู่ระหว่างชุมชน ลักษณะเป็นป่ารุ่นใหม่ที่เคยบุกรุกแผ้วถางทำลายมาก่อน จึงทำให้สัตว์ป่าชนิดต่างๆ ลดลงตามไปด้วย ยังคงเหลือแต่สัตว์ป่าขนาดเล็ก เช่น นก , หนู , งูไซ และไก่ป่า เป็นต้น แต่พื้นที่แห่งนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติทั้งด้านแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย สำหรับสัตว์ป่าจำพวกนกน้ำ ซึ่งพบทั้งสิ้น 156 ชนิด เป็นนกประจำถิ่น จำนวน 66 ชนิด , นกอพยพ จำนวน 64 ชนิด , นกประจำถิ่นและนกอพยพ จำนวน 16 ชนิด และนกไม่ทราบสถานภาพ จำนวน 10 ชนิด นกอพยพบางชนิดเป็นนกที่หายาก เช่น เป็ดเปียหน้าเขียว , เป็ดแมนดาริน , เป็ดผีใหญ่ เป็นต้น ส่วนนกประถิ่นได้แก่ นกเป็ดแดง , นกอีโก้ง , นกอีล้ำ เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
พื้นที่เขตฯ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำ เป็นที่อาศัยของนกเป็ดน้ำ ที่อพยพมาเป็นจำนวนมากในฤดูหนาว ดังนั้นแหล่งท่องเที่ยวในเขตฯ นี้จึงอยู่ที่บริเวณจุดชมนกน้ำอพยพบริเวณจอทองดำ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีนก อพยพมากมายหลายชนิด บางชนิดหายากมาก เช่น นกเป็ดเปียหน้าเขียว , เป็ดมัลลาด และเป็ดผีใหญ่ เป็นต้น
และบริเวณพื้นที่ ยังมีศาลานั่งพักผ่อน และบ้านพักสำหรับผู้ที่มาเยี่ยมชมและต้องการพักผ่อนหย่อนใจในธรรมชาติ

การเดินทาง
จากสถานีขนส่งจังหวัดเชียงรายเดินทางมาตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถึงทางแยกไปอำเภอเชียงแสน ระยะทาง 33 กิโลเมตร เปลี่ยนเส้นทางไปใช้ทางหลวงหมายเลข 1016 อำเภอแม่จัน – อำเภอเชียงแสน ถึงกิโลเมตรที่ 27 ณ บ้านกู่เต้า เปลี่ยนไปใช้เส้นทาง ร.พ.ช. สายบ้านกู่เต้า – ดอยงาม ถึงเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย ระยะทางอีก 2 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด จากจังหวัดเชียงราย – เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย ประมาณ 62 กิโลเมตร

** บริการบ้านพัก 2 หลัง รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 40 คน มีลานกางเต๊นท์ไว้คอยบริการ (ต้องนำเต๊นท์มาเอง) โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใดๆ สำหรับอาหารทางเขตฯ มีแม่บ้านรับเหมาทำอาหารถ้านักท่องเที่ยวมาเป็นกรุ๊ป**

ตำนานทะเลสาบเชียงแสน
มีตำนานว่าเจ้าเมืองเชียงแสนได้เลี้ยงเป็ดและห่านไว้ในหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง แต่มีปลาไหลเผือกตัวหนึ่งออกมากินเป็ดและห่านทุกวัน จนเจ้าเมืองทนไม่ได้ จึงขอฝ้ายบ้านละ 1 ปี๊บเพื่อมาพันหลังเป็ดและห่านทุกตัวให้เป็นสายเบ็ด เมื่อปลาไหลออกมากินเป็ดอีกจึงติดเบ็ด ชาวบ้านจึงช่วยกันจับขึ้นมาที่บ้านแม่ฮะ แล้วใส่เกวียนมายังบ้านแม่ลัวเพื่อทำเป็นอาหารแจกจ่ายไปทั่วเมือง

วันนั้นเองลูกชายของพระอินทร์ได้มาเที่ยวบ้านแม่ม่ายคนหนึ่งและได้ถามว่าเมืองนี้มีกลิ่นอะไรหอมไปทั่ว แม่ม่ายจึงเล่าให้ฟัง ลูกชายพระอินทร์จึงถามแม่ม่ายว่าได้กินปลาไหลเผือกกับเขาด้วยไหม แม่ม่ายตอบว่าชาวเมืองไม่ได้แบ่งให้ ลูกชายพระอินทร์บอกว่าดีแล้วและสั่งว่าคืนนี้ถ้าได้ยินเสียงอะไรห้ามออกนอกเรือนเด็ดขาด

พอตกกลางคืนก็มีเสียงดังกึกก้อง แม่ม่ายนึกถึงคำเตือนที่ได้ยินมา จึงปิดประตูบ้านเงียบอยู่ พอตอนเช้าก็ไม่เห็นเมืองเสียแล้ว มีแต่น้ำเวิ้งว้างไปทั่ว กลายเป็นทะเลสาบใหญ่โต เหลือแต่บ้านที่แม่ม่ายอยู่ซึ่งเหมือนเป็นเกาะ จึงเรียกว่า “เกาะแม่ม่าย”

รายชื่อสัตว์ป่า ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จังหวัดเชียงราย

1.                  พังพอนธรรมดา                    Herpestes javanicus

2.                  นากใหญ่ขนเรียบ                  Lutra perspicillata

3.                  เต่าเหลือง                            Testudo elongata

4.                  เต่าหก                                 Testudo emys

5.                  เต่านา                                 Damonia subtrijuga

6.                  กระต่ายป่า                           Lepus pequensis

7.                  ตะกวดหรือแลน                    Varanus bengalensis

8.                  ไก่ป่า                                   Gallus gallus

9.                  นกกวัก                                Amaurornis phoenicurus

10.              นกกระสานวล                      Ardea cinerea

11.              นกกระสาแดง                      Ardea purpurea

12.              นกกางเขนบ้าน                     Copsychus saularis

13.              นกกระติ๊ดตะโพกขาว            Lonchura striata

14.              นกกระติ๊ดขี้หมู                     Lonchura punctulata

15.              นกกระจิ๊ดธรรมดา                 Phylloscopus inornatus

16.              นกกระจิบหญ้าสีเรียบ            Prinia inornata

17.              นกกระเบื้องผา                     Monticola solitarius

18.              นกกระปูดใหญ่                     Centropus sinensis

19.              นกกระปูดเล็ก                       Centropus bengalensis

20.              นกกระเต็นน้อยธรรมดา         Alcedo atthis

21.              นกกระเต็นอกขาว                 Halcyon smyrnensis

22.              นกกระเต็นปักหลัก                Ceryle rudis

23.              นกกิ้งโครงคอดำ                   Sturnus nigricollis

24.              นกกาน้ำใหญ่                       Phalacrocorax carbo

25.              นกกระแตหงอน                    Vanellus vanellus

26.              นกกระทาทุ่ง                        Francolinus pintadeanus

27.              นกเขาใหญ่                          Streptopelia chinensis

28.              นกเขาไฟ                             Streptopelia tranquebarica

29.              นกขมิ้นน้อยธรรมดา              Aegithina tiphia

30.              นกคู้ท                                 Fulica atra

31.              นกคอพัน                             Jynx torquilla

32.              นกจับแมลงสีน้ำตาล             Muscicapa dauurica

33.              นกจาบคาหัวสีส้ม                 Merops leschenaulti

34.              นกแซงแซวหางปลา              Dicrurus macrocercus

35.              นกเด้าดินทุ่ง                        Anthus novaeseelandiae

36.              นกเด้าดินสวน                      Anthus hodgsoni

37.              นกตบยุงยักษ์                       Eurostopodus macrotis

38.              นกตะขาบทุ่ง                        Coracias benghalensis

39.              นกนางแอ่นบ้าน                    Hirundo rustica

40.              นกเป็ดแดง                          Netta rufina

41.              นกเป็ดลาย                          Anas querquedula

42.              นกเป็ดหอม                          Anas acuta

43.              นกเป็ดปากพลั่ว                    Anas clyperta

44.              นกเป็ดปากสั้น                      Anas penelope

45.              นกเป็ดหัวดำ                        Aythya bacri

46.              นกเป็ดกำหัวสีน้ำตาล            Aythya nyroca

47.              นกเป็ดคับแค                        Nettapus coromandeliaus

48.              นกเป็ดเทา                           Anas poecilorhyncha

49.              นกเป็ดเทาก้นดำ                   Anas strepera

50.              นกเป็ดปีกเขียว                     Anas crecca

51.              นกเป็ดเปียปากเขียว              Anas talcata

52.              นกเป็ดโปช๊าดหลังขาว           Aythya ferina

53.              นกเป็ดผีเล็ก                         Tachybaptus ruficollis

54.              นกปากซ่อมหางพัด               Gallinago gallinago

55.              นกปรอดหัวโขนหรือนกพิชหลิว  Pycnonotus jocosus

56.              นกปรอดหัวเขม่า                   Pycnonotus aurigaster

57.              นกพริก                                Metopidius indicus

58.              นกยอดหญ้าหัวดำ                Saxicda torquata

59.              นกยอดหญ้าสีดำ                  Saxicola caprata

60.              นกยางโทนใหญ่                    Egretta alba

61.              นกยางโทนน้อย                    Egretta intermedia

62.              นกยางเปีย                           Egretta garzetta

63.              นกยางไฟธรรมดา                 Lxobrychus cinnamomeus

64.              นกยางกรอกพันธุ์จีน              Ardeola bacchus

65.              นกยางควาย             Bubulcus ibis

66.              นกยางเขียว                          Butorides striatus

67.              นกยางไฟหัวดำ                     Lxobrychus sinensis

68.              นกยางไฟหัวเทา                    lxobrychus eurhythmus

69.              นกสีชมพูสวน                       Dicacum cruentatum

70.              นกหางนาก                          Meqalurus palustris

71.              เหยี่ยวทุกชนิดและแร้งทุกชนิดในอันดับ  (Order) Falconiformes

72.              นกอีโก้ง                               Porphyrio porphyrio

73.              นกอีลุ้ม                               Gallicrex cinerea

74.              นกอีล้ำ                                Gallinula chloropus

75.              นกอีแจว                              Hydrophasianus chirurgus

76.              นกอุ้มบาตร                          Motacilla alba

77.              นกอีเสือหัวดำ                       Lanius schach

78.              นกอีเสือหัวน้ำตาล                Lanius cristatus

79.              นกเอี้ยงสาริกา                      Acridotheres tristis


 

วารสารหนองบงคาย

ทักทายกันหน่อย

            หลังจากที่วารสารหนองบงคายได้ออกไปแล้วถึงสี่ฉบับนำเสนอเรื่องราวและเกร็ดความรู้เกี่ยวกับสัตว์มาโดยตลอดโดยเฉพาะเรื่องนกเป็นส่วนใหญ่ เพราะในพื้นที่ของเรามีสัตว์ป่าส่วนมากเป็นนก ในปีนี้ได้ทำการสำรวจมีมากว่า 120 ชนิด และนกเป็นที่สวยงามหาได้ยากเราสำรวจพบถึง 16 ชนิด เช่นเป็ดไบคาล , เป็ดผีใหญ่ ,  เป็ดปีกเขียว , เป็ดพม่า , เป็ดปากสั้น , เป็ดหางแหลม ฯลฯ บางชนิดคิดว่าคงไม่พบในประเทศไทย แต่ปีนี้สำรวจพบที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย เมื่อกลางเดือนกุมพาพันธ์ ทางสภาตำบลโยนก ได้ทำการจัดงาน  “บายศรีสู่ขวัญนก”  เพราะในฤดูที่นักอพยพและถูกคนล่าทำให้นกตกใจล้มหายตายจากเป็นจำนวนมาก ส่วนนกที่เหลือเราก็ได้ทำการบายศรีสู่ขวัญให้ เพื่อที่จะได้อพยพกลับไปว่างไข่เลี้ยงลูกน้อย และปีหน้าจะได้อพยพกลับมาใหม่

 นกอพยพที่หายาก

            เป็ดไบคาล (BAIKAL TEAL)

            ชื่อวิทยาศาสตร์ (Anas formosa Georgi)

            พบครั้งแรกที่ทะเลสาบไบคาล ในไซบีเรีย เป็นนกขนาดกลาง ขณะบินจะเห็นลวดลายของปีกคล้ายเป็ดปีกเขียวตัวผู้หน้าผากและกระหม่อมมีสีดำ และมีลายบนหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ บริเวณหัวถึงคอหอย ตลอดจนหู เป็นแถบสีเนื้อแกมเหลืองโดยมีเส้นกั้นสีดำ ถัดมาทางส่วนหลังของใบหน้าจนถึงท้ายทอยเป็นแถบโค้งสีเขียว มีขอบสีขาวรอบแถบโค้งลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาล อกทีลายแต้มสีม่วง ลำตัวด้านล่างสีเทา อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ พบอยู่ปนกับเป็ดอื่น โดยเฉพาะเป็ดแดง และเป็ดลาย จะออกหากินในตอนกลางคืน กลางวันจะพักผ่อน อาหารได้แก่ สาหร่าย ต้นขันอ่อนของหญ้า กก ตลอดจนพืชน้ำอื่นๆ และพวกแมลง สัตว์น้ำ ในประเทศไทยเราพบครั้งแรกที่ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ. 2534 – 2535 ส่วนในปีนี้พบที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย

            กฎหมายจัดนกเป็ดน้ำทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองดังนั้นเป็ดไบคาลจึงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองด้วย และมีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :: เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย (ทะเลสาบเชียงแสน)หมู่ 3 ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

โทร / แฟ็กซ์ :: 08-5716-6549

โฮมเพจ / เว็บไซต์ ::