มีบันไดนาค 339 ขั้น เป็นทางเดินขึ้นไปนมัสการหรือจะนำรถขึ้นไปจอดบนพระธาตุได้ สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระเจดีย์ทรงปราสาทยอดทรงระฆัง หลังคารูปบัวคว่ำ พระเจ้าพังคราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1483 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมาเจ้าสุวรรณ คำล้าน เจ้าเมืองเชียงแสน ได้สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ เมื่อปี พ.ศ.2030 ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมองค์เจดีย์ในปัจจุบัน
*******************************************
พระธาตุจอมกิตติ(1 ใน พระธาตุ 9 จอม พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำ จ.เชียงราย)
ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๖๕- o๕๓๔ มีพระครูวิกรมสมาธิคุณเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติพระธาตุ ตามตำนานกล่าวว่า กษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกองค์ที่ ๒๔ คือ พระเจ้าพังคราช พร้อมด้วยโอรส คือ พระเจ้าพรมมหาราช ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากพระเถระเจ้าชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามว่า พระพุทธโฆษาจารย์ รวม ๑๖ องค์ พระเจ้าพังคราชจึงทรงโปรดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็นขนาดใหญ่ ๑ องค์ ขนาดกลาง ๒ องค์ ขนาดเล็กอีก ๒ องค์ ประธานแก่พระยาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนาราย์ ซึ่งพระยาเรือนแก้วได้สร้างเจดีย์ประดิษฐานไว้ ณ. ดอยจอมทองที่เหลืออีก ๑๑ องค์ ทรงโปรดให้นำพระโกศแก้ว พระโกศเงิน มารองรับพระบรมธาตุ พระราชทานให้พระเจ้าพรหมมหาราชนำไปประดิษฐานไว้ที่ดอยน้อย หรือดอยจอมกิตติที่พระเจ้าสิงหนวัตนิ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกได้เคยบรรจุพระบรมสารีริธาตุ ทั้ง
๑๑ไว้ด้วยกัน ในปี ๑๔๘๓ ในระยะต่อมาเจดีย์พระธาตุทรุดโทรมมากเจ้าฟ้าเฉลิมเมือง เจ้าเมืองเชียงแสน ได้ร่วมกับศรัทธาชาวเมืองบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นอีกครั้งในปี ๒๒๓๗
การเดินทาง จากอำเภอเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๑o๒o ผ่านอำเภอพญาเม็งรายใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗๔ ผ่านปากทางเข้าน้ำตกตากควัน บ้ายไชยพัฒนา เข้าเขตอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑o๙๘ ผ่านบ้านเนินสมบูรณ์ ปากทางแยกเข้าอำเภอเวียงชัย ปากทาง เข้ากิ่งอำเภอดอยหลวง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๒๗๑ มุ่งตรงสู่อำเภอเชียงแสน ผ่านวัดพระธาตุผาเงา เข้าถนน บายพาส เข้าถนนเชียงราย เชียงแสนไปอีก ๒ กิโลเมตร ถึงทางเข้าพระธาตุจอมกิตติ ฝั่งซ้ายมือรวมระยะทางทั้งสิ้น ๑๑๗ กิโลเมตร
ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมกิตติเชื่อกันว่า ถ้าได้กราบไหว้และตั้งจิตอธิฐานท่านจะอุดมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ลาภยศผู้คนสรรเสริญ เจ้าคนนายคน
คำบูชาพระธาตุจอมกิตติ
อะหัง วันทามิ ปะระมะสารีริกกะธาตุโย
กะกุสันธัสสะ จะโกนาคะ นะมัสสะจะ
กัสสะธัสสะ จะสะมะนะโกตะมัสสะ เจวะ
นิพานนะ ปัจจะโย โหตุ