วัดพระธาตุกาคำ
วัดพระธาตุกาคำ สร้างขึ้นสมัยโยนกเชียงแสน ประมาณปี พ.ศ. 1181 สมัยปู่จ้าวลาวจก
สมัยนั้นบ้านหินแตก(เทอดไทย)มีชาวไทยใหญ่ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
มีการค้าขาย ระหว่าง ชาวไต กับ โยนก
มีเรื่องเล่าว่ามีพ่อค้าวัวต่างถิ่น สองคนพี่น้องมาจากเมืองแสนหวีได้เข้ามาค้าขาย พักแรม เป็นเวลานานนับเดือน ตาม เส้นทางตั้งแต่บ้านหินแตก ฝาง เชียงดาว เชียงใหม่
พ่อค้าชาวไทยใหญ่ทั้งสอง ได้สร้างพระธาตุขึ้นองค์หนึ่งในระหว่างทางดอยตุงกับเมืองฝาง คือ พระธาตุกาคำ แห่งนี้
โดยได้นำเอาทองคำหล่อหลอมเป็นรูปกา จำนวน 2 ตัว ไว้ในองค์พระธาตุ
ชาวไทยใหญ่เรียกว่า ก๋าคำ ( ก๋า หมายถึง อีกา , คำ หมายถึง ทองคำ )
วัดพระธาตุกาคำมีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ และพระธาตุ1องค์เป็นพระธาตุเก่าแก่ที่ทรุดโทรม
ไปเป็นเวลานานชาวบ้านจึงได้บรูณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2506
ลักษณะการปลูกสร้างก็เป็นแบบดั้งเดิมของชาวไทยใหญ่พิธีกรรมต่างๆ ก็ยังอนุรักษ์ไว้แบบเดิม
วัดกาคำ วัดประจำหมู่บ้านเทอดไทย
วัดพระธาตุกาคำ(ก๋าคำ)เป็นพระธาตุเก่าแก่บนยอดอยสร้างขึ้นในสมัยโยนก สมัยนั้นนำโดยปู่จ้าวลาวจก
เป็นผู้นำองค์กรปกครอง หรือหัวหน้าใหญ๋ของอ้ายลาว บ้านหินแตกในขณะนั้นมีชาวไทยใหญ่ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
มีเรื่องเล่าว่ามีพ่อค้าวัวต่างถิ่น สองคนพี่น้องมาจากเมืองแสนหวีได้เข้ามาค้าขาย พักแรม เป็นเวลานานนับเดือน ตาม เส้นทางตั้งแต่เมืองสาต, หินแตก , ฝาง ,เชียงดาว จุดหมายปลายทางสิ้นสุดที่เมืองเชียงใหม่
พ่อค้าชาวไทยใหญ๋ทั้งสอง ได้สร้างพระธาตุขึ้นองค์หนึ่งในระหว่างทางดอยตุงกับเมืองฝาง คือ พระธาตุกาคำ
โดยได้นำเอาทองคำหล่อหลอมเป็นรูปอีก จำนวน 2 ตัว ไว้ในองค์พระธาตุชาวไทยใหญ่เรียกว่า ก๋าคำ ( ก๋า หมายถึง อีกา , คำ หมายถึง ทองคำ )
วัดพระธาตุกาคำมีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ และพระธาตุ1องค์เป็นพระธาตุเก่าแก่ที่ทรุดโทรมไปเป็นเวลานานชาวบ้านจึงได้บรูณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2506
ความสำคัญของวัดนี้ เพราะเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านให้ความศรัทธาและนับถือ เป็นที่พิ่งทางใจของชาวบ้าน มีประวัติและความเป็นมาที่น่าประทับใจ ลักษณะการปลูกสร้างก็เป็นแบบดั้งเดิมของชาวไทยใหญ่พิธีกรรมต่างๆ ก็ยังอนุรักษ์ไว้แบบเดิม